หลุมดำคืออะไรกันแน่

หลุมดำ คือมุกหากินของภาพยนต์ Sci fi มาตลอด เป็นที่รู้ๆกันว่าเป็นที่ที่ดึงดูดกลืนกินทุกอย่างเข้าไปอย่างน่ากลัว ถ้าหนักหน่อยก็จะบอกว่าหลุมดำเป็นรูหนอนใช้การเดินทางระหว่างแกแล็คซี่ได้ในเวลาอันสั้นได้(ว่าไปโน่น) แต่บทความนี้ขออนุญาติดับโลกสวยของหลายๆท่านด้วยข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ของสิ่งที่เรียกว่า "หลุมดำ" และมันไม่เหมือนในภาพยนต์เลยสักนิด ขอโทษที
 



  ที่มาของชื่อเรียก "หลุมดำ" นั้นมาจากลักษณะที่มันเป็นก็คือ เรามองไม่เห็นมันและดึงดูดทุกอย่างที่ผ่านเข่้ามาใกล้เข้าหามัน และเหตุที่เรามองไม่เห็นมันเพราะว่าหลุมดำมีแรงโน้มถ่วงมหาศาลมากขนาดแม้แต่แสงที่ว่าเร็วๆก็ยังหลุดออกมาไม่ได้ ในเมื่อแสงออกมาเข้าตาเราไม่ได้เราจึงมองไม่เห็นมัน แต่เราสามารถรู้ตำแหน่งของมันได้ด้วยการสังเกตุพฤติกรรมของอะไรๆที่อยู่รอบๆมัน เช่น ถ้าพบจุดที่มีดาวจำนวนหนึ่งวนรอบที่ที่ดูเหมือนจะว่างเปล่าด้วยความเร็วสูง ตรงนั้นแล่ะคือที่อยู่ของหลุมดำ แต่อาจจะเกิดคำถามว่าทำไมดาวเหล่านั้นไม่ถูกดูดลงไปในเมื่อหลุมดำมีแรงโน้มถ่วงมากขนาดแสงยังหนีออกมาไม่ได้เลย คำตอบคือ รัศมีทำการของอำนาจแรงดึงดูดของหลุมดำก็มีขอบเขตเช่นกัน เราเรียกขอบเขตนี้ว่า "Event Horizon" หรือขอบฟ้าเหตุการณ์ กฎมีเพียงข้อเดียวคือ อะไรก็ตามที่ผ่านเส้นนี้ไปแล้วจะไม่สามารถกลับออกมาได้อีกตลอดกาล ส่วนอะไรที่อยู่นอกเส้นนี้ก็อาจจะเพียงแต่ถูกกักไว้ให้โคจรรอบๆเท่านั้น ดังเช่นดวงอาทิตย์ของเราที่วนรอบศูนย์กลางแกแล็คซี่ทางช้างเผือกที่คาดว่าศูนย์กลางแกแล็คซี่จะเป็นหลุมดำขนาดใหญ่ แล้วแรงดึงดูดที่ว่ามากๆ นี่มากขนาดไหน ก็ประมาณที่ว่าถ้าเรากระโดดเข้าไปในหลุมดำ ส่วนที่พ้นเส้นขอบฟ้าเหตุการณ์จะถูกดึงยืดยาวเป็นเส้นมาม่าไปเลย คือมันส่งผลดึงดูดในระดับอะตอมต่ออะตอมกันไปเลยทีเดียว คำถามต่อมาคือ หลุมดำมาได้ยังไง ?
  

ภาพหลุมดำจากภาพยนต์ Interstellar ที่บ่งบอกถึงแสงของดาวที่ถูกกักไว้ภายในขอบหลุมเดำ 



    หลุมดำเกิดจากดาวกฤษ์ขนาดใหญ่ๆหน่อยที่หมดอายุ หรือเผาผลาญพลังงานจนหมดแล้วก็จะยุบตัวเล็กลงเป็นหลุมดำ ซึ่งก็พบแล้วหลายร้อยแห่งในแกแล็คซี่ของเราเองเล็กบ้างใหญ่บ้างและอย่างที่บอกมันไม่เคยเหมือนในภาพยนต์วิทยาศาสตร์เลยสักแห่ง ส่วนอะไรที่โชคร้ายถูกดูดลงไปแล้วหายไปไหน ปัจจุบันเรารู้แค่ว่ามันถูกดูดลงไปรวมอัดแน่นกันในบริเวณแคบๆที่ศูนย๋กลางหนึ่ง แต่ยังไม่รู้อะไรต่อจากนั้น แต่เรื่องที่น่าสนใจของหลุมดำก็คือ ให้ลองนึกภาพเล่นๆดู ถ้าหากเราเข้าไปใกล้หลุมดำแล้วถีบเพื่อนเราสักคงให้ตกลงไปในหลุมดำ สิ่งที่เราจะเห็นคือการเคลื่อนไหวขยับตัวของเขาจะดูช้าลงเรื่อยๆตามระยะทางที่ใกล้ขอบฟ้าเหตุการณ์มากขึ้นทุกที นั่นเพราะว่าความเร็วแสงที่เล็ดรอดออกมาเริ่มถูกดึงดูดให้ช้าลงทุกทีจนในที่สุดเมื่อข้ามขอบฟ้าเหตุการณ์ไปแล้วเราจะเห็นเพื่อนเราทำท่าสุดท้ายหยุดนิ่งค้างไว้แบบนั้น นั่นเพราะว่าถึงจุดที่แรงดึงดูดมีแรงเทียบเท่าความเร็วแสงพอดี ส่วนหลังจากนั้นจะเป็นอย่างไรก็ลองนึกภาพต่อกันดูกันเองนะครับ (ต้องใช้จินตนาการ+กฎฟิสิกส์นิดหน่อย) บางทีท่านอาจจะเป็นผู้ค้นพบทฤษฎีใหม่ก็ได้
















วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย
สถาบันในเครือ
เป็นสถาบันด้านการศึกษาและมูลนิธิ ศ.ดร.นพ.กระแส ชนะวงศ์ ก่อตั้งขึั้น สำหรับบริการด้านการเรียน ทั้งระดับประถม มัธยม และอุดมศึกษา รวมไปถึงศูนย์ฝึกอบรม ด้านการศึกษา มูลนิธิหมอกระแส ชนะวงศ์และสถาบันกระแสภิวัฒน์ เพื่อเป็นแหล่งเรียนแก่คนรุ่นหลัง